ของเสียจากมหาสมุทรจำนวนมหาศาล

“World Without Waste” ลงทุนเพื่อโลกในแบบโคคา-โคล่า

กับเป้าหมายเก็บคืนขวดและกระป๋องเครื่องดื่มทุกชิ้นที่จำหน่ายเพื่อนำกลับมารีไซเคิล ภายในปี 2030

วิสัยทัศน์ “World Without Waste”

โลกเรากำลังประสบปัญหาใหญ่เรื่องบรรจุภัณฑ์ หน้าที่ของพวกเราคือ ร่วมกันรับผิดชอบเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ผ่านแนวคิด World Without Waste ที่เป็นการลงทุนระดับโลกของโคคา-โคล่า เพื่อกำจัดปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์ให้หมดไปจากโลก - มร. เจมส์ ควินซีย์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี

พันธมิตรและกิจกรรมภายใต้วิสัยทัศน์ World Without Waste

บรรจุภัณฑ์ต่างๆเป็นสิ่งจำเป็น และมีบทบาทสำคัญในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างสะดวก สะอาดและปลอดภัย การใช้บรรจุภัณฑ์อย่างรับผิดชอบเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่มาของวิสัยทัศน์ “World Without Waste” โดยเน้นแก้ปัญหาด้วยการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ ที่เริ่มตั้งแต่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% การจัดเก็บบรรจุภัณฑ์เพื่อนำกลับมารีไซเคิลในปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่จำหน่ายออกสู่ตลาด ภายในปี 2030 ผ่านความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ และองค์กรต่างๆ ในด้านการรีไซเคิล และเน้นสร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภคทั่วโลกหันมาช่วยกันเก็บบรรจุภัณฑ์มารีไซเคิลอย่างถูกต้อง

พันธมิตรและกิจกรรมภายใต้วิสัยทัศน์ World Without Waste

โคคา-โคล่า ได้ร่วมมือกับพันธมิตรอื่นๆ ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค เพื่อร่วมกันวางแผน ทำงาน และเชิญชวนให้ผู้บริโภคมาร่วมกันรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยสำหรับในประเทศไทยนั้น มีโครงการต่างๆ ภายใต้แนวคิด “World Without Waste” ดังนี้

โครงการ “โค้กขอคืน” (Coke Collects)

เป็นการทดลองสร้างระบบการจัดเก็บวัสดุบรรจุภัณฑ์ชนิดที่ไม่เก็บคืน อันได้แก่ ขวดพลาสติก PET กระป๋องอลูมิเนียม ขวดแก้วชนิดไม่คืนขวด และกล่องเครื่องดื่ม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการแยกขยะอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างแนวทางแก้ไขปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม

สมาชิกคณะกรรมการหลายคนจัดงาน "โลกที่ปราศจากน้ำ" เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำ

โดยในปี พ.ศ. 2562 กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย ได้เปิดตัวโครงการ “โค้กขอคืน x Central Group Journey to Zero” เดินหน้าสนับสนุนและจัดทำระบบส่งเสริมการแยกขยะที่ต้นทางในบริเวณศูนย์การค้าของเซ็นทรัล และนำส่งบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ตลอดจนวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ ที่จัดเก็บได้ให้กับบริษัทพันธมิตรเพื่อนำวัสดุเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง โดยได้มีการทดลองระบบการจัดเก็บนำร่องในร้านอาหารและภัตตาคารในกลุ่มบริษัทเซ็นทรัล ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์ และเซ็นทรัลพลาซา บางนา

โครงการ "โค้กขอคืน x Sansiri Waste to Worth"

โครงการ “โค้กขอคืน x Sansiri Waste to Worth” เป็นการต่อยอดโครงการ “โค้กขอคืน” และเป็นความร่วมมือที่ต่อยอดมาจากผลการทดลองทางเศรษฐศาสตร์เพื่อสร้างพฤติกรรมการแยกขยะ ด้วยแนวคิดการสะกิด (Nudge) อันเป็นความร่วมมือระหว่างโคคา-โคล่า แสนสิริ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพบ 2 เงื่อนไขสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้คนไทยแยกขยะได้สำเร็จคือ การขจัด “ความยุ่ง” และ “ความยาก” โดยได้นำผลการศึกษาดังกล่าวมาปรับใช้ในออกแบบถังขยะที่เอื้อต่อการแยก และการสื่อสารกับลูกบ้านในโครงการ T77 Community ให้เห็นถึงความสำคัญ และวิธีการที่เหมาะสมในการแยกขยะ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และกระตุ้นให้เกิดการลงมือปฏิบัติจริงในระยะยาว

สมาชิกคณะกรรมการหลายคนจัดงาน "โลกที่ปราศจากน้ำ" เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำ
ถังขยะสี่ใบอยู่ในที่สาธารณะ
ตราสัญลักษณ์ “Keep Thailand Beautiful”

โครงการ "เก็บไทยให้สวยงาม (Keep Thailand Beautiful)" เกิดจากความตั้งใจของโคคา-โคล่าที่ต้องการรักษาสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประเทศไทยให้คงความสวยงามสมบูรณ์ ด้วยการมีระบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เนื่องจาก สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความงดงามเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน แต่ยังเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งนำเม็ดเงินมาสู่ประเทศจำนวนมหาศาล โดยในปัจจุบัน โคคา-โคล่า ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในด้านนี้ ดังนี้

โครงการการจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทย: ปฏิบัติการภาคประชาชนสู่การปรับเปลี่ยนเชิงนโยบาย ซึ่งได้รับสนับสนุนจากมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศสหรัฐอเมริกา และทำงานร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (แผนงานประเทศไทย) หรือ IUCN เพื่อดำเนินโครงการการจัดการขยะในพื้นที่ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักในการจัดการขยะเชิงบูรณาการ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมระดับบุคคล โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นเกาะแก่ง ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องการขนส่ง อันจะทำให้ปริมาณขยะพลาสติกและขยะประเภทอื่นๆ ในชุมชนและในทะเลลดลง อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายด้านการจัดการขยะในระดับท้องถิ่นและในระดับประเทศต่อไป

อาสาสมัครทำความสะอาดขยะในทะเล
ชายอาสาสมัครถือถุงขยะ

ข้อความ "โปรดรีไซเคิล" บนบรรจุภัณฑ์

การเปิดตัวดีไซน์บรรจุภัณฑ์ภายใต้แนวคิด “Recycle Me” เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ World Without Waste ของ

โคคา-โคล่า ซึ่งมุ่งใช้และจัดการบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอย่างรับผิดชอบ กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย ได้เดินหน้าปรับเปลี่ยนใช้ข้อความ “โปรดรีไซเคิล” บนบรรจุภัณฑ์เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคช่วยกันแยกบรรจุภัณฑ์ออกจากขยะอื่น ๆ และนำกลับมารีไซเคิลให้ได้มากที่สุด โดยการปรับเปลี่ยนนี้จะถูกนำมาใช้กับบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มน้ำอัดลมทุกแบรนด์ในประเทศไทยภายในสิ้นปี 2564 ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากการปรับดีไซน์บรรจุภัณฑ์แล้ว โคคา-โคล่า ยังได้ร่วมมือกับ Trash Lucky สตาร์ทอัปเพื่อสิ่งแวดล้อม ในแคมเปญ “โค้กชวนแยก แลกลุ้นโชคกับ Trash Lucky” เชิญชวนให้คนไทยเริ่มแยกขยะตั้งแต่ต้นทางและนำส่งบรรจุภัณฑ์และวัสดุรีไซเคิล พลาสติก อะลูมิเนียม แก้ว กระดาษ หรือโลหะที่ผ่านการใช้งานแล้วโดยไม่จำกัดแบรนด์ เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและลุ้นรับของรางวัลรวมมูลค่ากว่า 900,000 บาท ซึ่งโคคา-โคล่าได้สนับสนุนของรางวัลในแคมเปญเป็นระยะเวลา 3 เดือน พร้อมร่วมมือกับอินโดรามา เวนเจอร์ส มอบชุด PPE ที่ผลิตจากเส้นด้าย PET รีไซเคิลจากขวด PET ที่รวบรวมได้จากแคมเปญ จำนวน 1,500 ชุดให้แก่บุคลากรด่านหน้า นอกจากนั้น กิจกรรมยังได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรด้านการขนส่งอย่าง SPEED-D ซึ่งเป็นบริการรับ-ส่งพัสดุใน 7-Eleven ในการมอบส่วนลดให้กับทุกการจัดส่งภายใต้แคมเปญอีกด้วย

ความร่วมมือระหว่าง โคคา-โคล่า และ The Ocean Cleanup

เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรระดับโลกรายแรกกับ The Ocean Cleanup ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการทำความสะอาดแม่น้ำสายสำคัญทั่วโลกโดยใช้นวัตกรรม เรือ Interceptor™ ของ The Ocean Cleanup อันเป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อนเรือเพื่อดักจับขยะบนผิวน้ำ โดย Interceptor™ รุ่นแรกเปิดตัวในปี พ.ศ.2562 และเป็นโซลูชั่นตัวแรกที่สามารถพัฒนาสู่การใช้งานจริงในวงกว้างเพื่อป้องกันไม่ให้ขยะพลาสติกไหลจากแม่น้ำเข้าสู่มหาสมุทร 

โครงการทำความสะอาดแม่น้ำในประเทศไทยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ในปีที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษาถึงลักษณะของมลพิษที่เกิดจากขยะพลาสติกในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการสกัดกั้นก่อนที่จะรั่วไหลลงสู่มหาสมุทร โดยได้รับความร่วมมือจากทั้งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท อีโคมารีน จำกัด  ซึ่งมีการจัดพิธีลงนามความร่วมมือ ณ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำกรุงเทพฯ ในวันที่ 31 มีนาคม 2565 โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นสักขีพยาน ในการลงนามระหว่าง มร. โบแยน สแลต ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งองค์กร The Ocean Cleanup และ อีโคมารีน บริษัทลูกของบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานด้านเทคนิค อันจะช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางน้ำ และร่วมปกป้องสิ่งแวดล้อมตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน  ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าเรือ Interceptor™ จะสามารถเริ่มดำเนินการในแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงบริเวณใกล้กับคลองลัดโพธิ์ ในพื้นที่อำเภอบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ได้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565

สมาชิกคณะกรรมการหลายคนจัดงาน "โลกที่ปราศจากน้ำ" เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำ
มุมมองด้านหน้าของขยะจากเรือ "Ocean cleanup"