ภาพของใต้น้ำ

โครงการ “รักน้ำ”

โครงการ “รักน้ำ” เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นระดับโลกของโคคา–โคลา ในการคืนน้ำสู่ชุมชนและธรรมชาติในปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มภายในปี พ.ศ. 2573 ทั้งยังสอดคล้องกับความมุ่งมั่นในการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่สังคมไทย โดยโครงการ “รักน้ำ” มีพันธกิจในการสร้างความยั่งยืนให้กับ “น้ำ” ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตเครื่องดื่ม ผ่านกรอบการทำงาน 3 R’s ได้แก่

  • Reduce ลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตเครื่องดื่ม ณ โรงงานทั้ง 7 แห่งในจังหวัดปทุมธานี นครราชสีมา ขอนแก่น ลำปาง สงขลา และสุราษฎร์ธานี
  • Recycle นำน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตเครื่องดื่มคืนสู่ธรรมชาติผ่านการบำบัดน้ำที่ใช้แล้วจนได้น้ำสะอาดในระดับที่สัตว์น้ำสามารถอาศัยอยู่ได้ ขณะเดียวกัน ก็นำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ในกระบวนการอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการผลิต และลดการใช้น้ำจากแหล่งน้ำภายนอกของชุมชน
  • Replenish คืนน้ำกลับสู่ชุมชนและธรรมชาติ ในปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่ม

โครงการ “รักน้ำ” เริ่มต้นในปี 2550 ดำเนินการโดยมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือกับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร เช่น มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน และมูลนิธิป่า-ทะเลเพื่อชีวิต ตลอดจนเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น รวมถึงกลุ่มผู้บริหาร พนักงาน ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอย่างบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด และบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ผ่านกรอบการทำงานบนความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐภาคธุรกิจและภาคประชาชน โดยมีเป้าหมายระดับโลกในการคืนน้ำสู่ชุมชนและธรรมชาติอย่างปลอดภัย ในปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มภายในปี 2573 ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในการเพิ่มความมั่นคงของน้ำที่เราใช้ หาแหล่งน้ำ และเข้าถึงชุมชน โดยการเพิ่มปริมาณน้ำ คุณภาพน้ำ การเข้าถึงแหล่งน้ำของชุมชน และหลักธรรมาภิบาล ซึ่งมีหลักการดำเนินงาน 3 ข้อ ได้แก่

  1. สนับสนุนการใช้น้ำหมุนเวียน
  2. ปรับปรุงคุณภาพแหล่งต้นน้ำเพื่อความยั่งยืน
  3. เพิ่มการเข้าถึงแหล่งน้ำชุมชนและพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่าฯ ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำชุมชนในพื้นที่ทั่วประเทศไทย ได้แก่

 

อาสาสมัครโคคา-โคลาหญิง 2 คน สนับสนุนโครงการ "รักน้ำ"

 

 

 

1.  ชุมชนบ้านลิ่มทอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 

 

 

2. ชุมชนคลองรังสิต ตำบลบึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

ความร่วมมือในโครงการสิ้นสุดในปี 2564 แต่ชุมชนยังคงดำเนินการต่อจากการสนับสนุนของมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาน้ำอย่างยั่งยืนได้ด้วยตนเอง

 

 

 

3.  ชุมชนตำบลบางเคียน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 

 

 

 

4.  ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองยัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

 

 

 

5.  ชุมชนบ้านแม่ตาลน้อย ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 

 

 

 

6.  ชุมชนใน 9 อำเภอ จังหวัดขอนแก่น อาทิ มัญจาคีรี บ้านไผ่ โนนศิลา

วิดีโอด้านล่างเป็นตัวอย่างบางส่วนที่โครงการ “รักน้ำ” ช่วยสนับสนุนให้ชุมชนสามารถจัดการน้ำในพื้นที่ของตนเองและเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรได้ดียิ่งขึ้น